วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2566

"มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก" เปลี่ยนนามจากสถาบันอุดมศึกษา ประกาศความพร้อมเดินหน้าสร้างมืออาชีพรุ่นใหม่ เพิ่มทักษะ และสมรรถนะสากลตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมศตวรรษที่ 21 นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ เป็นตัวแทน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีและมอบหนังสือคำสั่งกระทรวงฯ พร้อมแสดงความชื่นชมและยินดีในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ ที่บริหารจัดการเป็นไปตามพันธกิจอย่างครบถ้วน ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม ประเทศชาติอย่างมีคุณค่า และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ดร.ณัฐรัตน์ ประโยชน์อุดมกิจ รองกรรมการบริหารบริษัท อรรถวิทย์รุ่งเรือง จำกัด นายชนะ รุ่งแสง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รวมทั้งคณะกรรมการสภาฯ อาทิ รศ.ดร.กุลภัทรา สิโรดม รศ.วิรัช สงวนวงศ์วาน รศ.ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ และนายธวัชชัย ไทยเขียว และยังได้รับเกียรติจาก H.E. Neak Sambo เลขาธิการรัฐจากราชอาณาจักรกัมพูชา นายสุพจน์ ภูติเกียรติกำจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งคนดังในแวดวงเศรษฐกิจของประเทศที่เคยได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อาทิ นายปรีดี ดาวฉาย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผูัอำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เช่น ดร.มัทนา สานติวัตร จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเครือข่ายจากอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมแสดงความยินดี ณ หอประชุม SBU Hall ถนนสรรพาวุธ บางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ประกาศเดินหน้าสร้างมืออาชีพรุ่นใหม่ ที่พร้อมตอบโจทย์ ตลาดงานสากลของศตวรรษที่ 21 เตรียมรับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศและภูมิภาคในอนาคต หลังจากพิธีฉลองการเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการที่จัดขึ้นอย่างน่าประทับใจ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้เปิดบริการทางการศึกษา วิชาการและงานวิจัย ในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ผลิตมืออาชีพป้อนตลาดแรงงานมาเป็นเวลาถึง 23 ปี ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก หรือ Southeast Bangkok University (SBU) กล่าวย้ำว่า SBU ในวันนี้คือ ความสำเร็จของการต่อยอดการให้บริการทางการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันที่มุ่งมั่นในการสร้างคนไทยและทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคให้เต็มเปี่ยมศักยภาพและสมรรถนะระดับสากล เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์คุณภาพสำหรับการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและสังคม โดย SBU มุ่งมั่นที่จะรั้งบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษามาตรฐานสากลในระดับภูมิภาค มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่บางนา ซึ่งในอดีตเคยเป็นนาข้าว และที่ตั้งบางพลีตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร โดยถือกำเนิดบนพื้นฐานมั่นคง ซึ่งวางไว้ในรูปแบบของโรงเรียนเอกชนสายสามัญ ที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมและมัธยมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของสองผู้ก่อตั้ง นายเพิ่ม-นางละออง รุ่งเรือง ผู้มุ่งมั่นให้การศึกษา อบรม บ่มเพาะ และปลูกฝังความรู้คู่คุณธรรมในเยาวชน อันเป็นปณิธานที่สืบทอดโดยทายาทรุ่นต่อมา และได้พัฒนาต่อเนื่อง มีการเปิดสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ ระดับ ปวช. ระดับ ปวส. เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ และวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ จนกระทั่งต่อยอดสู่การเปิดวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเมื่อปี พศ. 2542 เปิดทำการสอนใน 4 คณะในตอนแรก และในภายหลังเพิ่มเป็น 5 คณะ ได้แก่ คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนิติศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ โดยในปัจจุบันเปิดบริการด้านการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยทุกหลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.southeast.ac.th และ Facebook : SBU Southeast Bangkok มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาการในเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้แตกฉาน จบการศึกษาไปด้วยศักยภาพที่เพียงพอในการประกอบอาชีพ มีสมรรถนะสากล (Globalization) มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ คิดในเชิงวิพากย์ และคิดได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถบริหาร จัดการ และพึ่งตนเองได้ ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ อันจะส่งประโยชน์โดยรวมต่อสังคมและประเทศ

"มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก" เปลี่ยนนามจากสถาบันอุดมศึกษา 

ประกาศความพร้อมเดินหน้าสร้างมืออาชีพรุ่นใหม่ เพิ่มทักษะ

และสมรรถนะสากลตอบโจทย์เศรษฐกิจและสังคมศตวรรษที่ 21


          นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการฯ เป็นตัวแทน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีและมอบหนังสือคำสั่งกระทรวงฯ  พร้อมแสดงความชื่นชมและยินดีในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยฯ ที่บริหารจัดการเป็นไปตามพันธกิจอย่างครบถ้วน ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคม ประเทศชาติอย่างมีคุณค่า และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ดร.ณัฐรัตน์ ประโยชน์อุดมกิจ รองกรรมการบริหารบริษัท อรรถวิทย์รุ่งเรือง  จำกัด  นายชนะ รุ่งแสง อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก รวมทั้งคณะกรรมการสภาฯ อาทิ รศ.ดร.กุลภัทรา สิโรดม รศ.วิรัช สงวนวงศ์วาน รศ.ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ และนายธวัชชัย ไทยเขียว และยังได้รับเกียรติจาก H.E. Neak Sambo เลขาธิการรัฐจากราชอาณาจักรกัมพูชา นายสุพจน์ ภูติเกียรติกำจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ  รวมทั้งคนดังในแวดวงเศรษฐกิจของประเทศที่เคยได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก อาทิ นายปรีดี ดาวฉาย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  และนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผูัอำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตลอดจนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เช่น ดร.มัทนา สานติวัตร จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเครือข่ายจากอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมแสดงความยินดี ณ หอประชุม SBU Hall ถนนสรรพาวุธ บางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566





           ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ประกาศเดินหน้าสร้างมืออาชีพรุ่นใหม่ ที่พร้อมตอบโจทย์ ตลาดงานสากลของศตวรรษที่ 21 เตรียมรับการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศและภูมิภาคในอนาคต หลังจากพิธีฉลองการเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเป็นมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการที่จัดขึ้นอย่างน่าประทับใจ 
           ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกได้เปิดบริการทางการศึกษา วิชาการและงานวิจัย ในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ผลิตมืออาชีพป้อนตลาดแรงงานมาเป็นเวลาถึง 23 ปี




           ดร.สมศักดิ์ รุ่งเรือง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก หรือ Southeast Bangkok University (SBU) กล่าวย้ำว่า SBU ในวันนี้คือ ความสำเร็จของการต่อยอดการให้บริการทางการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันที่มุ่งมั่นในการสร้างคนไทยและทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคให้เต็มเปี่ยมศักยภาพและสมรรถนะระดับสากล เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์คุณภาพสำหรับการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของชาติและสังคม  โดย SBU มุ่งมั่นที่จะรั้งบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการที่เป็นเลิศด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษามาตรฐานสากลในระดับภูมิภาค




              มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่บางนา ซึ่งในอดีตเคยเป็นนาข้าว และที่ตั้งบางพลีตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร โดยถือกำเนิดบนพื้นฐานมั่นคง ซึ่งวางไว้ในรูปแบบของโรงเรียนเอกชนสายสามัญ ที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงประถมและมัธยมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จากความตั้งใจอันแน่วแน่ของสองผู้ก่อตั้ง นายเพิ่ม-นางละออง รุ่งเรือง ผู้มุ่งมั่นให้การศึกษา อบรม บ่มเพาะ และปลูกฝังความรู้คู่คุณธรรมในเยาวชน อันเป็นปณิธานที่สืบทอดโดยทายาทรุ่นต่อมา และได้พัฒนาต่อเนื่อง มีการเปิดสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ ระดับ ปวช. ระดับ ปวส. เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษ และวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ จนกระทั่งต่อยอดสู่การเปิดวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกเมื่อปี พศ. 2542 เปิดทำการสอนใน 4 คณะในตอนแรก และในภายหลังเพิ่มเป็น 5 คณะ ได้แก่ คณะโลจิสติกส์และเทคโนโลยีการบิน คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะนิติศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์



      
          โดยในปัจจุบันเปิดบริการด้านการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยทุกหลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.southeast.ac.th และ Facebook : SBU
 Southeast Bangkok




          มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอกมุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาการในเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษเพื่อให้บัณฑิตมีความรู้แตกฉาน จบการศึกษาไปด้วยศักยภาพที่เพียงพอในการประกอบอาชีพ มีสมรรถนะสากล (Globalization) มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ คิดในเชิงวิพากย์ และคิดได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถบริหาร จัดการ และพึ่งตนเองได้ ในขณะที่รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ อันจะส่งประโยชน์โดยรวมต่อสังคมและประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาส

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาส  ในโครงการส่งเสริ...