วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กัปตัน ชลธร - Last Idol - Star Search Idol นำทีมสร้างความสนุกสุดมันส์ ใน ‘คอนเสิร์ต สามสีสัญจร’

กัปตัน ชลธร - Last Idol - Star Search Idol นำทีมสร้างความสนุกสุดมันส์

ใน ‘คอนเสิร์ต สามสีสัญจร’ ไม่หวั่นสภาพอากาศ

     จัดหนักจัดเต็ม ระเบิดความสุขกันอย่างเต็มอิ่มกับคอนเสิร์ต “สามสี สัญจร” จ.ระยอง เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566   ที่ผ่านมา ณ ลานจอดรถห้าง ซีเค พลาซ่า จ.ระยอง



        เริ่มต้นคอนเสิร์ตด้วย พีพี อนพัช บรรเจิดศิลป์, ปิ๊งปิ๊ง รัสริณณ์ 2 ศิลปินเลือดใหม่ ที่มาโชว์พลังเสียงสุดปัง ส่งต่อเวทีให้ 13 หนุ่มจาก Stars Search Idol ที่ทำให้เวทีแทบลุกเป็นไฟ จัดเต็ม 3 เพลงรวดอย่างเพลง มีใจก็ไปกัน / เธอบอกว่าฉันไม่ดี รวมถึงเพลง เก่งแต่เรื่องคนอื่น ที่ Rearrange และนำมาแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อถึงคิวของ LAST IDOL ก็เรียกเสียงเชียร์กันไปอย่างสนั่นหวั่นไหวกับ 3 เพลงสุดน่ารักอย่าง ก้าวต่อไป / ฝนดาวตก / กอดเลยละกัน



         มาถึงคิวของเหล่าดารานักแสดงในช่วง STAR CONCERT เริ่มต้นด้วย มิ้น มิณฑิตา, เบสท์ ชนิดาภา ที่นำเพลงสุดน่ารักอย่างเพลง สายตาหลอกกันไม่ได้ / แฟนผมน่ารัก มาโชว์ให้แฟนๆกันกันอย่างสดๆ ส่วนสาวสวยอย่าง จันจิ จันจิรา งานนี้นำเพลงจากละครดังหมอหลวง เป็นมากกว่ารัก มาฝากแฟนๆปิดท้ายช่วง STAR CONCERT ด้วยพระเอกหนุ่ม กัปตัน ชลธร ที่มาในเพลงฮิตอย่าง เส้นบางๆ




         ก่อนจะปิดท้ายด้วยโชว์จากศิลปินอินดี้สุดปังอย่างวง วงมหาหิงคุ์ ที่จัดเต็มโชว์ 16 เพลงรวดไม่มีพัก ขนเพลงฮิต 100 วิว อาทิ ปี้จนป่น /  ช้ำใจ / ปล่อยผ่าน / ถึงเวลาก็ลืมเอง / พ่อเป็นชาวนา / ปล่อย งานนี้แฟนๆ ชาวระยองที่ขนเอาความสุขและความมันส์กลับบ้านไปเต็มๆ

          ส่วนครั้งหน้าเราจะบุกไปหาคุณที่จังหวัดไหนหรอติดตามได้เลยที่ FanPage : CH3 CONCERT / SEARCHENTERTAINMENT

 

#สามสีสัญจร

#สามสีสัญจรxระยอง

#searchgroup

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สสว. จับมือ สทท. ขับเคลื่อนโครงการ “SME Restart 2566”

สสว. จับมือ สทท. ขับเคลื่อนโครงการ SME Restart 2566”




     
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ร่วมกันจัดกิจกรรมอบรมสัมมนา Tourism Transform โครงการ SME Restart ปี 2566 "เตรียมพร้อม SME สู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ เชื่อมโยงชุมชน สร้างรายได้แบบยั่งยืน"




         ภายในงานจัดให้มีการแถลงข่าวโครงการ SME Restart 2566 โดย ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว. และนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธาน สทท. พร้อมการเสวนาพิเศษ เรื่อง "การขับเคลื่อนท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน" โดย นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการ สสว. นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธาน สทท. นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และบอร์ด ททท. นายประคอง สายจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และนายกรณรงค์ ทองหนู นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) ท่ามกลางคณะกรรมการ สทท. อาทิ ว่าที่ร้อยตรีเอนก นุรักษ์ รองประธาน สทท. และประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA ) นายอดุลชัย รักดำ นายโสพนา บุญสวยขัวญ นางสมทรง สัจจาภิมุข นายสุรวัช อัครมาศ  และผู้เข้าอบรม เพื่อเตรียมพร้อม SME สู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ เชื่อมโยงชุมชน สร้างรายได้แบบยั่งยืน คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 500 ล้าน ณ ห้องบอลรูม 2 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์




       นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการ SME Restart 2566 ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ว่า โครงการดังกล่าว มุ่งเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการกลุ่มท่องเที่ยว 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ใน 10 พื้นที่ เชื่อมโยงกับชุมชน 15 ชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ราย พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์วิถีการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ คาดจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท




        ในปี 2564 สสว. และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ได้ร่วมกันจัดโครงการ SME Restart เพื่อ Upskill/Reskill ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ภูเก็ต พังงา และสุราษฏร์ธานี กว่า 1,000 รายให้มีความพร้อมต่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในยุค New Normal จนเป็นให้เกิด Phuket Sandbox Model ที่เป็นต้นแบบในการเปิดประเทศอย่างปลอดภัยและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก โดยในปีนี้ สสว. ได้ร่วมกับ สทท. อีกครั้งจัดโครงการ  SME Restart 2566 โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว Transform ธุรกิจให้มีความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านสินค้า การตลาดและเทคโนโลยี ควบคู่กับการเติบโตอย่างยั่งยืน และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวไปยังชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศ ตามแนวคิด “เตรียมพร้อม SME สู่การท่องเที่ยววิถีใหม่ เชื่อมโยงชุมชน สร้างรายได้แบบยั่งยืน




        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวเสริมว่า จากความสำเร็จของ SME Restart 2564ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั่วประเทศได้แจ้งความจำนงค์มาที่ สทท. ว่า อยากให้มีการจัดกิจกรรมดีๆเช่นนี้อีกทั่วประเทศ ทีมงาน สทท. เราจึงได้เดินทางร่วมกับผู้บริหาร สสว. ไปทั่วประเทศเพื่อทำ Focus Group สอบถามถึงความต้องการของผู้ประกอบการว่าสนใจที่จะปรับตัวในเรื่องใด และได้ข้อสรุปว่า ผู้ประกอบการท่องเที่ยวยุคนี้ ต้องการพัฒนาใน 3 เรื่อง คือ Smart Tourism / Green Tourism และ Wellness Tourism ดังนั้น SME Restart 2566 นี้จึงมีการจัดกิจกรรมทั้งหมดใน 10 พื้นที่ คือ นครราชสีมา อุดรธานี ชลบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร และมีการเชื่อมโยงไปยังชุมชนที่โดดเด่นในเรื่อง BCG/SDG และ Wellness Tourism ไม่ต่ำกว่า 15 แห่ง เพื่อที่จะต่อยอดให้ผู้ประอบการและชุมชน มีกลยุทธการบริหารและตลาดที่ Smart มีการเล่าเรื่องที่ดีและต่อยอดไปสู่การเป็น Virtual Tourism ที่สามารถประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้อย่างน่าสนใจ







         นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการ สสว.กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังการฝึกอบรม จะมีการทำ Workshop การเชื่อมโยงธุรกิจ (Business Collaboration) และพัฒนาเชิงลึกให้กับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว 15 กลุ่ม โดยดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การปรับรูปแบบธุรกิจ (Business Model) การพัฒนาการเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้าง Digital Content การประสานเครือข่ายธุรกิจแบบ B2B และการท่องเที่ยวบนโลกเสมือน (Virtual Tour) ทั้งนี้ เพื่อสร้างต้นแบบกลุ่มท่องเที่ยวธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และจัดทำต้นแบบทางธุรกิจ (Success Case) ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยคาดว่า เมื่อผู้ประกอบการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการประกอบธุรกิจ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท

 

 

“สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย” จัดงานแถลงข่าว “การประกวดร้องเพลงเพื่ออนุรักษ์และสืบสานเพลงไทยลูกกรุง” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

“สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย” จัดงานแถลงข่าว “การประกวดร้องเพลงเพื่ออนุรักษ์และสืบสานเพลงไทยลูกกรุง” 

ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



        ธานินทร์ อินทรเทพ นายกสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีแถลงข่าวการประกวดร้องเพลงเพื่ออนุรักษ์และสืบสานเพลงไทยลูกกรุง” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีนักร้องชื่อดัง อาทิ นฤพนธ์ ดุริยะพันธ์, วินัย พันธุรักษ์ (ศิลปินแห่งชาติ), อุมาพร บัวพึ่ง, จิตติมา เจือใจ, โฉมฉาย อรุณฉาน, ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล, อุไรวรรณ ทรงงาม, วิระ บำรุงศรีฯลฯ  มาร่วมแถลงข่าวด้วยณ หอประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซอยรามคำแหง 43/1 วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน  2566


        สำหรับผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครประกวดร้องเพลงเพื่ออนุรักษ์ แสะสืบสานเพลงไทยลูกกรุงในอดีตอันทรงคุณค่า ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยถ้วยพระรางทานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ประเกทอายู 15 ปี ถึง 30 ปี และ 2. ประเภทอายุ 30 ปี ขึ้นไป 




         ผู้ชนะเลิศทั้งสองประเภทจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท และเกียรติบัตร

 รองชนะเลิศ อันดับ 1 ทั้งสองประเกท รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

 รองชนะเลิศ อินดับ 2 ทั้งสองประเภท รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย ประเภทละ 2 รางวัส รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2566 - วันที่ 3 กันยายน 2566 รอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้น ณ หอประชุมโหญ่ ทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ พร้อมชมคอนเสิร์ต "ดาว"



         ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้คือ ต้องไม่เป็นนักร้องอาชีพ และเพลงที่ใช้ประกวดต้องไม่ใช้ทำนองต่างประเทศ

ส่วนกำหนดการประกวดคือ

1. ผู้เข้าประกวดต้องส่งเสียงร้องประกอบดนตรีใส่ Flash Drive พร้อมใบสมัคร (รอบแรกไม่เสียค่าสมัคร)

2. ผู้ผ่านเข้ารอบ กรุณาโอนเงินค่าสมัศร ท่านละ 2,000 บาท เข้าบัญชีลมาคมนักร้องแห่งประเทศไทยฯ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขบัญชี 006-280671-9 ซึ่งจะให้ขับร้องคัดเลือกบนเวทีตลาดไอยรา จ.ปทุมธานี โดยนำ Baking Track เพลงที่ส่งเข้าประกวดมาด้วย (ร้องเพลงเดิมที่ส่งประกวด) ในวันที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 -15.00 น. 

3. รอบตัดสิน วันที่ 3 กันยายน 2566 ณ หอประชุมโหญ่ ทีโอที ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

ลงทะเบียนเวลา 10.00 น.



        ผู้สนใจสามารถส่งใบสมัคร ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 กรกฏาคม 2566 โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ Facebook Fanpage: สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ หรือ Samakomnakrongthai

 

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จัด “Bangkok Sugar Dinner 2023” กระชับความสัมพันธ์คู่ค้าน้ำตาลจากทั่วโลก พร้อมส่งสัญญาณการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย

ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จัด “Bangkok Sugar Dinner 2023”

กระชับความสัมพันธ์คู่ค้าน้ำตาลจากทั่วโลก 

พร้อมส่งสัญญาณการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย


       บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด หรือ TSMC ในฐานะตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย และภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย จัดงาน “Bangkok Sugar Dinner 2023” กระชับความสัมพันธ์กับคู่ค้าในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจากทั่วโลก พร้อมตอกย้ำศักยภาพของประเทศในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 2 ของโลก และการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้โมเดล BCG สู่การเติบโตบนความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


       นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานฯ พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Sustainable Growth of Sugar Industry” ในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์ “Bangkok Sugar Dinner 2023” ภายใต้ธีม Sweetness Connections on the Chao Phraya โดยมีผู้บริหารจาก TSMC ได้แก่ นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานคณะกรรมการฯ นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหารฯ คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล กรรมการบริหาร พร้อมคุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มมิตรผล และมร. Jose Orive กรรมการบริหาร องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566


   นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานคณะกรรมการ ไทยชูการ์ มิลเลอร์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยโดยสมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้ร่วมกันจัดงาน Bangkok Sugar Dinner ต่อเนื่องมาแล้ว 4 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี 2555 เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิตน้ำตาลทราย 10 ล้านตันของไทย พร้อมการประชุม Sugar Conference ซึ่งได้ต้อนรับคู่ค้าในธุรกิจอ้อยและน้ำตาลทรายจากทั่วโลกเข้าร่วมงาน หลังจากนั้น ก็ได้จัดกิจกรรมขึ้นต่อเนื่องทุกๆ 2 ปี โดยในปี 2557 เป็นการฉลองความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ที่ไทยสามารถผลิตอ้อยได้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 100 ล้านตัน ต่อมาในปี 2559 งาน Bangkok Sugar Dinner 2016 ได้มีการจัดขึ้นเพื่อฉลองความสำเร็จของการผลิตน้ำตาลเกิน 9.7 ล้านตันของไทย นอกจากนี้ ในงาน “Thai Sugar Dinner 2018” ซึ่งจัดขึ้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรีในปี 2561 เป็นปีที่ไทยสามารถผลิตอ้อยได้ถึง 135 ล้านตัน และผลิตน้ำตาลทรายได้ถึง 14.7 ล้านตัน ถือเป็นปริมาณการผลิตสูงสุดเป็นประวัติการณ์


       เดิม TSMC มีกำหนดจัดงานเฉลิมฉลองครั้งที่ 5 ในปี 2563 แต่เนื่องจากการระบาดของ โควิด-19 จึงจำเป็นต้องเลื่อนมาปีนี้ โดยงาน Bangkok Sugar Dinner 2023 จัดขึ้นพร้อมกับการประชุม Bangkok Sugar Conference ภายใต้หัวข้อ ‘Innovative Paths, Sustainable Future’ เพื่อเป็นเวทีพบปะหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับความท้าทายภายใต้บริบทใหม่ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโลก  ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในวงการอ้อยและน้ำตาลทรายจากไทยและนานาชาติร่วมแสดงทรรศนะในการร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายโลกสู่อนาคตร่วมกัน ในขณะที่งานกาลาดินเนอร์ จัดขึ้นในธีม ‘Sweetness Connections on the Chao Phraya’ เพื่อสะท้อนความสัมพันธ์และมิตรไมตรีอันดีระหว่างคู่ค้าและผู้อยู่ในอุตสาหกรรมทั้งในไทยและประเทศคู่ค้าจากทั่วโลก


     อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการสร้างรายได้รวมต่อปีกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกแล้ว ยังมีส่วนสำคัญสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตแบบทวีคูณของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมชีวภาพ ภาคส่วนเหล่านี้ทำรายได้ให้ประเทศนับล้านล้านบาทต่อปี โดยในปีเพาะปลูก 2560/2561 ผลผลิตน้ำตาลไทยสูงถึง 14.7 ล้านเมตริกตัน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยนับเป็นผลผลิตอ้อยทั้งหมด 135 ล้านตันอ้อย อย่างไรก็ตามในปีการเพาะปลูก 2565/2566 ผลผลิตอ้อยลดลงเหลือ 94 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้เพียง 11 ล้านตัน


     หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้านนอกจากผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกให้กับพืชชนิดอื่นและการพัฒนาด้านอื่นๆ รวมถึงปัญหาขาดแคลนแรงงาน และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว นายปราโมทย์เสริมว่า ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นวาระสำคัญระดับประเทศ ที่ไทยให้ความสำคัญและมีการผลักดันนโยบาย ระดับประเทศ เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยได้ปรับใช้แนวทางการเก็บเกี่ยวสีเขียว โดยมุ่งขจัดการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวภายในปีการเพาะปลูก 2566-2567 ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่งภายใต้เครือข่ายของไทยชูการ์ มิลเลอร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 20,000 เมตริกตันต่อวัน ยังเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำเพาะปลูก ปรับปรุงคุณภาพและกำลังการผลิต เพื่อให้สามารถส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพแก่ผู้บริโภคทั่วโลก


     นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานคณะกรรมการ TSMC กล่าวทิ้งท้ายว่า “ความยั่งยืนถือเป็นแกนหลักของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุมผ่านโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2564-2569 อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของ BCG ที่มีการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ต้นแบบ BCG จึงมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดย TSMC เชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้” 



                                                                                                                                  


มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาส

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาส  ในโครงการส่งเสริ...