วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2566

กันตพงษ์ นายก สธทท. จัดประชุมใหญ่สมาชิกสามัญ ประจําปี 2565 พร้อมเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่ สมาชิกโหวตให้เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 2

กันตพงษ์ นายก สธทท. จัดประชุมใหญ่สมาชิกสามัญ ประจําปี 2565 พร้อมเลือกตั้งนายกสมาคมคนใหม่

สมาชิกโหวตให้เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 2

      นายกันตพงษ์ (พี่แต๊ก) ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) จัดประชุมใหญ่สมาชิกสามัญ ประจําปี 2565 โดยมีคุณวรินทร ทองพูน ประธานที่ปรึกษา/ผู้ก่อตั้ง สธทท. นายมานิต บุญฉิม ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาดท่องเที่ยว สธทท. คุณวรางคณา สุเมธวัน ประธานชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว และคณะกรรมการสมาคม สธทท. ที่ดูแลภาคต่างๆ ได้แก่ ดร.สุเทพ อารมณ์รักษ์ (ภาคกลาง) คุณชนัฐมนทน์  เงินวิวัฒนกูล (ภาคใต้) คุณกัญญ์วรัณ แผ่พร (ภาคเหนือ) คุณโสดารินทร์ ธนเนืองโรจน์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นายพูนผล แพทอง (ภาคตะวันออก) และนายสมานนพพล รัตนธรรมทิตย นายทะเบียน/เหรัญญิก


ดยได้รับกียรติจาก นางสาวฐาปนียย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บรรยายเรื่อง "นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ" นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว บรรยายเรื่อง "ภาระกิจของกรมการท่องเที่ยว" นายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้อํานวยการภูมิภาคภาคตะวันออก ททท. บรรยายเรื่อง "การท่องเที่ยวของภาคตะวันออก"  และนายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อํานวยการ ททท. สํานักงานกรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง "เส้นทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร" พร้อมเลือกตั้งนายกสมาคม สธทท.ที่หมดวาระ ผลการเลือกตั้ง นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายก สธทท.คนเดิม ได้รับการโหวตให้ทำงานต่ออีกวาระ ท่ามกลางเหล่าสมาชิก รวมทั้งผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชนร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุม แกรนด์พาโนรามา ช้ัน 14 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ รัชดา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566

      นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) เป็นอีกหนึ่งพันธมิตรของเรา ที่จะขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยในปี 2566 และต่อเนื่อง ปี 2567 ซึ่งมีความท้าทายมาก ททท. ต้องตอบโจทย์รัฐบาล ที่มีเป้าหมายในปี 2570 ให้การท่องเที่ยวมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% ของ GDP และในปี 2567 จะต้องรายมีรายได้เท่ากับปี 2562 ก่อนเกิดโควิด คือ 3 ล้านล้านบาท แล้วเราต้องขยับสัดส่วนรายได้ นักท่องเที่ยวไทยกับนักท่องเที่ยวต่างจาก 30% กับ 70% เป็น 35% กับ 65% เพื่อลดอัตราเสี่ยงจากนักท่องเที่ยวต่างชาติลง 5% และเป็นการเพิ่มมูลค่าจากอุสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เพิ่มมากขึ้น


        แคมเปญปีนี้ เป็นปีท่องเที่ยวไทย 2566 เรายังใช้ “Amazing New Chapters” ส่วนตลาดในประเทศเราใช้ “เที่ยวเมืองไทยอเมดซิ่งยิ่งกว่าเดิม” และเรายังมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาด สร้างภาพลักษณ์ต่างๆ จะมีการเปิดตัว "Unseen New Chapters" ได้สถานที่อันซีนใหม่อีก 25 แห่ง ที่จะประกาศให้เป็น Unseen New Chapters 2566 จากการคัดเลือกสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะให้ประชาชนคนไทยได้ร่วมโหวตถึง 18 มิถุนายน 2566 เป็นวันสุดท้าย และจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือน มิถุนายน 2566 นี้


       เราต้องมีพันธมิตร มีความหลากหลายของโปรดักส์สินค้า และการบริการมีการเตรียมพร้อม เราต้องยึดโยงกลยุทธ์ และความต่อเนื่อง วันนี้จึงมาพูดคุยว่าในปีนี้เราจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง จะเน้นกลุ่มไหนบ้าง กลุ่มที่ ททท.ให้ความสำคัญ เช่น กลุ่มวัฒนธรรมย่อย หรือ Sub-Culture Movement คือกลุ่มการเคลื่อนที่มีความสนใจพิเศษ มีวัฒนธรรมย่อยเดียวกัน ถือว่าเป็นกลุ่มที่ทรงพลังมาก ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวสายศรัทธา สายมู สายดาราศาสตร์ สาย LCBTQ สายสุขภาพ Health & Wellness พวกนี้เป็นกลุ่มใหม่ที่ ททท. ให้ความสำคัญ เราจะนำพลังที่คิดในสิ่งเดียวกันนี้ มาเป็นมวลชนในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในปีต่อไป และเราได้พันธมิตรคือ สธทท. มาครีเอทเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ไปด้วยกัน

      
      นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานกรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง เส้นทางท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร Walking Bangkok เส้นทางเยาวราช เส้นทางกุฎีจีน คลองโอ่งอ่าง พาหุรัด เส้นทางสนามไชย เสาชิงช้า สามยอด เส้นทางสาทร บางรัก สีลม เส้นทางตลาดน้อย เส้นทางอิสรภาพ วังหลัง เส้นทางนางเลิ้ง หลานหลวง เส้นทางสามเสน เทเวศร์ บางลำพู เส้นทางพระราม 1 สยาม ราชประสงค์

      
       คุณมานิต บุญฉิม ที่ปรึกษาฝ่ายการตลาดท่องเที่ยว สธทท. บรรยายให้ความรู้ด้านการทำตลาดท่องเที่ยวด้วยระบบ Wholesale


       นายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้อํานวยการภูมิภาคภาคตะวันออก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง เทศกาลแสงสีแสงสุดอลังการ @วิจิตรระยอง แสงแห่งขุมทรัพย์ตะวันออก และแหล่งท่องเที่ยวในภาคตะวันออก

          
       ด้าน นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา บรรยายเรื่อง ภารกิจและขอบข่ายการดำเนินการของกรมการท่องเที่ยว “กรมการท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาด้าน Supply Site สินค้า บริการ และกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่


  1. ด้านพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเราทำร่วมกับ อพท. ทำเสร็จก็ส่งต่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไปทำเรื่อง Demand Site คือการประชาสัมพันธ์และการตลาด เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศ
  2. ด้านบริการท่องเที่ยว เราดูแลเรื่องอำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาให้นักท่องเที่ยว เช่น เรื่องการทำประกันให้กับสกูตเตอร์ ที่ให้นักท่องเที่ยเช่า และเรื่องที่กำลังจะทำคือผลักดันให้มีป้ายทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เช่า


  3. ด้านธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์  จดทะเบียนให้บริษัททัวร์ เปิดอบรมมัคคุเทศก์ สำหรับนักท่องเที่ยว  และเก็บภาษีจากเรือยอร์ชที่เข้ามาจอดในประเทศไทยรับเรื่องร้องเรียน และดำเนินคดีกับบริทัวร์ที่ทำผิดกฎหมาย
  4. ด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เปิดอบรมให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวกับบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ
  5. ด้านกิจการภาพยนต์ และวิดิทัศน์ต่าประเทศ ให้ใบอนุญาต อำนวยความสะดวก และเก็บภาษี กับกองถ่ายภาพยนต์ต่างประเทศ ที่เข้ามาถ่ายทำในเมืองไทย”   ท่านกันตพงษ์ ธนนเนืองโรจน์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็น นายก สธทท. ทำงานต่ออีกสมัย ในวาระปี 2566-2567


      นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ หลังจากได้รับเลือกตั้งนั่งนายก สธทท. ต่ออีกสมัย ก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แสดงวิสัยทัศน์และแนวทางการทำงาน ว่าด้วยนโยบายทำการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนภายใต้การบรูณาการ 8 ด้าน อันได้แก่


     1. ด้านสิ่งแวดล้อม ทั่วโลกเขาเริ่มทำไปแล้วแต่ของเรายังไปไม่ถึงไหน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้ง 13 สาขาอาชีพก็ต้องรวมมือกัน
    2. ด้านวัฒนธรรม เราทำการท่องเที่ยวได้เงินตราจากต่างประเทศเข้ามา แต่เราต้องไม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเอง ได้เงินเข้ามา แต่วัฒนธรรมเราหาย มันก็ไม่คุ้ม


    3. ด้านสุขอนามัยของแหล่งท่องเที่ยว ตอนนี้ห้องน้ำในสถานที่ท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร มุ่งแต่ทำโครงสร้างพื้นฐานถนนหนทาง บางแหล่งท่องเที่ยวยังไม่มีห้องน้ำเสียด้วยซ้ำ หรือบางแห่งมีแต่ไม่มีคนดูแลรับผิดชอบ สกปรกนักท่องเที่ยวเข้าใช้ไม่ได้ ร้านบางแห่งมีห้องน้ำน้อย ไม่เหมาะกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการ ต้องไปใช้ห้องน้ำตามปั๊มแทน เรื่องสุขอนามัยของแหล่งท่องเที่ยว ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
    4. ด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการขาดการควบคุม ร้านอาหารขายราคาเท่าเดิม แต่ได้ของลดลง เราต้องลงไปจัดการพูดคุยกับร้านค้าให้เข้าใจ ไม่อย่างนั้นลูกค้าของบริษัททัวร์จะหายหมด กว่าจะได้ลูกค้ามาแต่ละคนแสนลำบาก


    5. ด้านคุณภาพและบริการ อาหารที่นักท่องเที่ยวรับประทานแล้ว ต้องท้องไม่เสีย
    6. ด้านความปลอดภัย เช่น เสื้อชูชีพที่อยู่บนเรือต่างๆ ใส่แล้วต้องลอย ไม่ใช่ใส่แล้วจม
    7. ด้านการตลาด ต้องให้ความสำคัญ ว่าประชาสัมพันธ์ไปแล้วจะขายใคร เอาลูกค้ามาจากไหน
    8. ด้านประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่เร่งทำประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว แล้วนักท่องเที่ยวมามากเกินขีดจำกัดรองรับ ตัวแหล่งไม่พร้อม ความเสียหายก็จะเกิดกับแหล่งท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว จะกลายเป็นแหล่งถูกเที่ยว ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว


     ส่วนเรื่องการ ครีเอท เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ เราจะทำร่วมกับ ททท. ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย นักท่องเที่ยวสายศรัทธา สายมู สายดาราศาสตร์ สาย LCBTQ สายสุขภาพ Health & Wellness เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มีสัดส่วยเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 35 % ตามเป้าหมายของ ททท. ที่ตั้งไว้


    สมาคมฯ ยังคงห่วงใยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หลังสถานการณ์โควิด เรื่องสิ่งแวดล้อม รากเหง้าวัฒนธรรม สุขอนามัย สิทธิประโยชน์ คุณภาพ ความปลอดภัย การตลาดและประชาสัมพันธ์ นี้คือสิ่งที่สมาชิกผู้ประกอบการทุกรายต้องทำ ผมทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องบูรณาการ ร่วมมือกันทำ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ และกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยให้คึกคัก



#สธทท
#TTPA
#สมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย
#การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
#กรมการท่องเที่ยว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and Art Festival 2024”

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and  Art Festival 2024”  16 ธ.ค. 2567 ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568  ณ สวนไม้งามริมน้ำกก         ...