กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดประกวดคลิป
"มารยาทไทย แก้ไขปัญหาจราจร"
หวังดึงจิตสำนึกเพื่อนร่วมทาง …
จากปัญหาที่เกิดขึ้นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพยายามบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
ความร่วมมือปลุกจิตสำนึก การใช้รถใช้ถนน นำความเป็นไทย
สร้างวินัยจราจรให้สังคมเร่งจัดทำแนวทางกิจกรรมการรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
สร้างวินัยจราจรในระดับชาติ ประชาสัมพันธ์สร้าง ความรู้ความเข้าใจ
ให้ประชาชนตระหนักและเห็นคุณค่าในการใช้รถใช้ถนน ด้วยความปลอดภัย มีจิตสำนึก
รับผิดชอบ มีน้ำใจ และเอื้ออาทรให้แก่กันบนท้องถนน
มีมารยาทที่ดีในการขับขี่ยานพาหนะ กระตุ้นจิตสำนึก
โดยใช้มารยาทไทยควบคู่กับวินัยจราจร มีน้ำใจไมตรี และการไหว้ขอบคุณและขอโทษ
ซึ่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเคยรณณรงค์ในเรื่องนี้มาแล้ว
การรณรงค์เรื่องวินัยจราจรให้เป็นรูปธรรม ต้องอาศัยเวลาแต่ถ้าทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เชื่อว่าจะสำเร็จผลอย่างยั่งยืน โดยโครงการจัดการประกวดทำคลิปเผยแพร่ “มารยาทไทย
แก้ไขปัญหาจราจร” ในหัวข้อ “สัญจรดี
วิถีไทย” นั้น
จะมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านสื่อและช่องทางต่าง ๆ อยากให้น้องๆที่สนใจร่วมส่งผลงานมาประกวดกันมาก
ๆ เพราะนอกจากจะได้รับทุนการศึกษาแล้ว
ยังได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในการช่วยเหลือให้สังคมไทยมีมารยาทและ
วินัยจราจรอีกด้วย ”
หลักเกณฑ์การประกวดคลิปเผยแพร่มารยาทไทยแก้ไขปัญหาจราจร
โดยมีรายละเอียดดังนี้ …
๑)
ระดับการประกวด
๓.๑ ระดับมัธยมศึกษา (ม.๑ – ม.๖)
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
๓.๒ ระดับอุดมศึกษา, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) หรือเทียบเท่า
ทั้งนี้
ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะสมัครเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีม สมาชิกในทีมไม่เกิน ๓ คน
ผู้ส่งผลงานจะส่งได้คนละหรือทีมละ ๑ ผลงาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการสมัคร
๒)
วิธีดำเนินการ/รายละเอียด/หลักเกณฑ์
๒.๑ คลิปที่ส่งเข้าประกวด มีความยาว ๒ –
๓ นาที ภายใต้แนวคิดมารยาทไทยแก้ไขปัญหาจราจร ในหัวข้อ “สัญจรดี
วิถีไทย”
๒.๒ คลิปที่ส่งเข้าประกวดเป็นคลิปที่ถ่ายทำจากกล้องดิจิทัล
หรือ กล้องวีดิโอ หรือโทรศัพท์มือถือ รูปแบบไฟล์นามสกุล .mp4
ความละเอียดแบบ HD
๒.๓
คลิปที่ส่งเข้าประกวดเป็นคลิปที่ไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน
๒.๔
ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
๒.๕ คลิปที่ส่งเข้าประกวด
ต้องไม่มีลักษณะลบหลู่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูก ดูหมิ่น เสียดสี และก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม
๒.๖
ผู้ประกวดต้องรับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ทั้งด้านเนื้อหา ภาพ เสียง คลิป
ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน
โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
๒.๗ ในกรณีที่คณะกรรมการพบว่า
ผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รางวัลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ปกปิดข้อเท็จจริง
มีการแอบอ้าง หรือ เลียนแบบผลงานจากผู้อื่น
คณะกรรมการสามารถตัดสิทธิ์ผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รางวัล ออกได้ทันที
และผู้เข้ารอบหรือผู้ที่ได้รับรางวัล ไม่มีสิทธิ์เรียกค่าเสียหาย ไม่ว่ากรณีใด ๆ
ทั้งสิ้น
๒.๘ ผลงานของผู้ประกวดทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดหรือได้รับรางวัล
ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
๓)
การรับสมัคร ส่งผลงาน และการประกวด
๓.๑ กำหนดการประกวด
๑) การเปิดรับสมัครและส่งผลงาน วันที่
๒๓ มิถุนายน – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
๒) ประกาศผู้ผ่านรอบคัดเลือก วันที่ ๔
สิงหาคม ๒๕๖๓
๓) กำหนดส่งผลงานรอบชิงชนะเลิศ
ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓
๔) ประกาศผลรางวัลชนะเลิศ วันที่ ๒๗
สิงหาคม ๒๕๖๓
๓.๒ การสมัคร
ผู้ประกวดต้องกรอกข้อมูลการสมัครให้ครบถ้วน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ได้ที่ www.twtvdo.com
หรือไปยังเว็ปไซด์ ด้วยการกดลิ้งก์บนโลโก้การประกวดคลิป “สัญจรดี
วิถีไทย” การที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซด์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
๓.๓ การส่งผลงาน
ผู้ประกวดสามารถส่งผลงานได้ที่ www.twtvdo.com
๓.๔ ผู้ประกวดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก
จะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ผู้กำกับภาพยนตร์ และ Youtuber เพื่อให้ผู้ประกวดที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือก
สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
เพิ่มทักษะความสามารถในการผลิตคลิป โดยมิเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม
๓.๕ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการประกวดตามความเหมาะสม
๔)
รอบการแข่งขัน
การประกวดทั้ง ๒ ระดับ
แบ่งการประกวดเป็น ๒ รอบ คือ
๔.๑ รอบคัดเลือก
เพื่อคัดเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน ๑๖ ทีมหรือคน ประกอบด้วย
– ระดับมัธยมศึกษา (ม.๑ – ม.๖),
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า จำนวน ๘ ทีมหรือคน
– ระดับอุดมศึกษา, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) หรือเทียบเท่า จำนวน ๘ ทีมหรือคน
๔.๒ รอบชิงชนะเลิศ มีจำนวน ๑๖
ทีมหรือคน (ระดับละ ๘ ทีม หรือคน)
๕)
เกณฑ์การตัดสิน
๕.๑ เนื้อหาของคลิปวีดิโอ
ภายใต้แนวคิดมารยาทไทยแก้ไขปัญหาจราจร ในหัวข้อ “สัญจรดี
วิถีไทย”
๕.๒ ความคิดสร้างสรรค์
วิธีการนำเสนอและการดำเนินเรื่องที่แปลกใหม่ สามารถสร้างจิตสำนึกที่ดี
กระตุ้นให้ผู้ชมที่เป็นประชาชนทั่วไป รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมไทย
ได้ตระหนักถึงค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม จรรโลงให้สังคมมีความเป็นระเบียบวินัย
รู้จักถ้อยทีถ้อยอาศัย ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างปกติสุข
ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาจราจรให้บรรเทาเบาบางลง
๕.๓ การถ่ายทำ/การตัดต่อพื้นฐาน
มีความคมชัด การใช้มุมกล้อง การบันทึกภาพและเสียง มีความชัดเจน
๖)
รางวัลของผู้ประกวด มีดังนี้ …
๖.๑ ระดับมัธยมศึกษา (ม.๑ – ม.๖),
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
รางวัลชนะเลิศ
รับเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑
รับเงินรางวัล ๕๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒
รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย
รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๕ รางวัล พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
๖.๒ ระดับอุดมศึกษา, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) หรือเทียบเท่า
รางวัลชนะเลิศ
รับเงินรางวัล ๑๐๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑
รับเงินรางวัล ๕๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒
รับเงินรางวัล ๓๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑ รางวัล พร้อมถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย
รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๕ รางวัล พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
๖.๓ รางวัลผู้ผ่านรอบคัดเลือก
รับเงินรางวัล ๑๐,๐๐๐
บาท จำนวน ๑๖ รางวัล
– ระดับมัธยมศึกษา (ม.๑ – ม.๖),
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า
จำนวน ๘ ทีมหรือคน
– ระดับอุดมศึกษา, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) หรือเทียบเท่า
จำนวน ๘ ทีมหรือคน
ผู้สนใจสามารถสอบถามและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.twtvdo.com, facebook:
twtvdo,
Line: @ThaiwaysTraffic, Instagram:
ThaiwaysTraffic, twitter: ThaiwaysTraffic และ YouTube: สัญจรดี
วิถีไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น