ททท.แพร่ ชวน…บุกฟินกินถึงสวน
“Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์” ประจำปี 2566
เปิดสวน..กินทุเรียนเมืองลับแล Durian Lover
ท่องเที่ยวท้องถิ่นกับแคมเปญใหม่ …บุกฟินกินถึงสวน“ Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์”ประจำปี 2566 เปิดสวน..กินทุเรียนเมืองลับแล Durian Lover โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ (แพร่อุตรดิตถ์) นำโดยนายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการ ททท. แพร่
นายอนันต์ สีแดง ผู้อำนวยการ ททท. แพร่ กล่าวว่า แคมเปญนี้เป็นซีซั่น 2 ต่อเนื่องจากปีก่อนที่เราประสบความสำเร็จอย่างสูง กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในช่วง green อย่างมหาศาล เศรษฐกิจหมุนเวียนกว่า 400 ล้านบาท จากภาพนโยบายใหญ่ Go green.. Go to local เที่ยวฤดูฝน ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงชุมชน ซึ่งเป็นนโยบายหลักของ ททท.
เรื่อง กินทุเรียนในสวน ตอน Durian Lover 1 ปี มี 1 ครั้ง ของ ททท.แพร่ เรามองอยู่ 4 เรื่องใหญ่ ๆ (ททท. Vision) คือ การ
สร้างมูลค่าเพิ่ม(ใหม่) จากระบบทุเรียน (เก่า)ที่ชาวสวน ต้องผ่านมือ ล้ง เพื่อกระจายผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาด ซึ่งจะผ่านนายหน้า จะถูกกดราคา ททท. จึง ทำตลาดใหม่ (สร้างตลาดใหม่) กระตุ้นให้คนเดินทางจากทั่วประเทศ ให้มากิน มาเหมา มาอุดหนุนชาวสวนถึงในพื้นที่สวนของลับแลเลย ชาวสวนจะได้พบลูกค้าโดยตรง สร้างมูลค่าใหม่ พร้อมงานภาคบริการ
และ ททท. ยังได้จัดโปรแกรมให้ชาวสวนได้นำเสนอวิถีใหม่ คือ สินค้าเกษตรผสานงานบริการ (Hospitality) การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เช่น เปิดสวนบริการกินทุเรียนในสวน ชมสวน มีพื้นที่ถ่ายรูปท่องเที่ยว จัดสัมมนา หรือจัดเลี้ยงหมู่คณะ มีบริการservice ด้านท่องเที่ยวควบคู่สินค้าเกษตร
รวมถึงการทำตลาด กระตุ้นหน่วยงาน/องค์กรทั่วประเทศ ในการจัดประชุมนอกจังหวัด ให้เดินทางมาอุตรดิตถ์ ลับแล work-cation จัดสัมมนา.นอกสถานที่พร้อมเดินทางมาทานทุเรียนไปด้วย ได้ประโยชน์ทั้งองค์กรและท้องถิ่น
ส่วนการประชาสัมพันธ์นั้น จะมีการสร้างการรับรู้จากสื่อและรายการทีวีต่างๆ เช่น ทาง NBT ทางรายการทีวีต่างๆ เช่น รายการที่นี่เมืองไทย รายการที่นี่หมอชิต รวมทั้ง วารสาร อสท. ฉบับล่าสุดเดือนพฤษภาคม ที่ลงเรื่อง "ทุเรียนเมืองลับแล" และสื่อจากจังหวัดใกล้เคียงต่างๆ ให้ช่วยกันโปรโมทเช่นกัน อาทิ กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก แพร่ น่าน ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย นอกจากนี้ เรายังส่งข่าวไปตามกลุ่มไลน์ของสมาคมท่องเที่ยวของภาคเหนือทั้งหมด และจังหวัดใกล้เคึยงอย่าง แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง ถึงแม้เขาอาจจะเดินทางขับรถมาเอง เช้า-เย็นกลับ ไม่ค้างคืน แต่เราพบว่า volumes การเหมาซื้อสูงมาก เพราะเขาไม่ต้องเสียค่าที่พัก เลยเอาเงินส่วนนั้นมาเหมาทุเรียนกลับบ้าน แต่ถ้าจังหวัดแพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะนอนค้างคืนที่อุตรดิตถ์
และเรายังทำงานร่วมกับประชาสัมพันธ์จังหวัด สสวท. และสื่อมวลชนท้องถิ่น เพจท้องถิ่น ส่งข่าวตามช่องทางต่างๆ ให้หน่วยงานช่วยประชาสัมพันธ์ โดยมีนายสมหวัง พุ่มพวง ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นหัวเรือใหญ่
ปีที่แล้วเราเริ่มทำโครงการกินทุเรียนในสวน Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์ เป็นปีแรก เราได้ 7 สวนมาเข้าร่วมโครงการ สำหรับปีนี้ได้เพิ่มมาเป็น 11 สวนที่เข้าร่วม ได้แก่ 1.สวนป้าเรียน 2.หลงสวน ณ ลับแล 3.บ้านบนดอย สาขาตลาดหัวดง 4.เฮือนลับแล 5.ม่อนลับแล 6.สวนนิดตะวันฉาย 7.ธนาฟาร์ม นานกกก 8.สวนธันวา 9.ใจใหญ่ ฟาร์ม 10.สวนพลอย พนา และ 11.แลบัวอุตรดิตถ์ โดยโครงการกินทุเรียนในสวน Eat ตะระดุต..อุตรดิตถ์ จะริ่มตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม- 30 มิถุนายน 2566
สำหรับ สวนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ แต่เจ้าของสวนอยากเข้าร่วมโครงการ และอยากทราบว่าต้องทำอย่างไร ก็สามารถเข้ามาพูดคุยกับทาง ททท.แพร่ ได้เลย หรือติดตามข้อมูล จาก Facebook Page ททท.สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 054-521127 หรือ เฟสบุ๊คของเจ้าหน้าที่ทุกคนได้เลย ส่วนตัวผมเอง นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท แะรพ ก็พยายาม เชื่อมโยงให้ทุกๆผู้ประกอบการ -ชาวสวนได้เข้าถึงง่ายขึ้น
นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท.แพร่ กล่าวทิ้งท้ายว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ราคาของทุเรียน "หลงลับแล-หลินลับแล" ช่วยพยายามตรึงราคาไม่ให้ราคาสูงมากเกินไป คนทั่วไปเอื้อมถึง คนซื้อทำใจลำบาก เราเข้าใจว่า "ทุเรียนที่นี่หอมอร่อยเหมือนกลิ่นดอกไม้ ทุเรียนเทวดาเลี้ยง ปลูกบนภูเขา ปลอดสารพิษ มี GI รสชาติมาเป็นอ้นดับ 1" แม้ว่าที่อื่น-จังหวัดอื่นจะปลูกหลงลับแล แต่เอาจริงๆ สู้รสชาติที่ปลูกในดินลับแลไม่ได้เลย และ อยากให้ตลาด Mass ได้เข้าถึงทุเรียนหลง-หลินให้มากกว่านี้ ดังนั้นราคาอย่าสูงเกินเอื้อมถึง ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่อยากขอร้อง
#อุตรดิตถ์เที่ยวได้365วัน
#DurianLover
#Eatตะระดุต-อุตรดิตถ์
#ทททแพร่-อุตรดิตถ์
#เที่ยวอุตรดิตถ์Amazingยิ่งกว่าเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น