วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565

รักษ์พงษ์" สร้าง"ชุมชนคลองพลับพลาโมเดล" ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ปลุกใจชาวชุมชน 2,000 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง

รักษ์พงษ์" สร้าง"ชุมชนคลองพลับพลาโมเดล" ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบปลุกใจชาวชุมชน 2,000 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเอง


         นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เปิดตัว “ชุมชนคลองพลับพลาโมเดล" ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ ในโครงการพัฒนาชุมชนแออัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ซึ่งมีชุมชนรวมกว่า 2,000 แห่ง และประชากรกว่า 2 ล้านคน ทั่วกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565



       นายรักษ์พงษ์ (พี่เปิ้น) เซ่งเจริญ  กล่าวถึงความตั้งใจในการริเริ่มโครงการนี้ว่า "ผมอยากให้ผู้คนได้รับรู้และให้ความสำคัญให้มากขึ้นถึงชุมชนที่อยู่คู่กรุงเทพฯ มาอย่างช้านานกว่า 2,000 แห่ง จนถึงปัจจุบันนี้มีผู้คนที่อาศัยและใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนดังกล่าวกว่า 2 ล้านคน โดยในอดีตชุมชนก็เปรียบเสมือนหมู่บ้านตามต่างจังหวัดในปัจจุบัน แต่ภายหลังจากกรุงเทพฯ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เพื่อรองรับการพัฒนาที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ หน่วยปกครองที่เรียกว่าหมู่บ้านในกรุงเทพฯ ก็ต้องถูกยกเลิกไป แล้วตั้งหน่วยปกครองใหม่ที่เรียกว่า "ชุมชน" ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่จากท้องนาอันเป็นพื้นที่ทำมาหากินดั้งเดิมของคนในชุมชน ก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นกลุ่มตึกสูงระฟ้า เพื่อรองรับการอยู่อาศัยและแสวงโอกาสของหมู่คนจากต่างชาติและต่างจังหวัด แล้วก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อผู้คนที่ไม่รู้ความเป็นมา จนมองว่า "ชุมชนคือชุมชนแออัด หรือสลัม" เสียด้วยซ้ำ หนักไปกว่านั้น อาจเข้าใจผิดจนมองคนในชุมชนเป็น "ผู้รุกรานจากต่างถิ่น" ทั้งๆ ที่ผู้คนใน ชุมชนคือผู้ที่อยู่อาศัยคู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่ดั้งเดิมอย่างแท้จริง


              ดังนั้นพื้นที่ชุมชนจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อันซึมซับเอาภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของพื้นที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไว้มาอย่างช้านาน เหมาะสำหรับผู้คนที่อยากเรียนรู้ถึงที่มา เพื่อค้นหาถึงแนวทางการสืบสานสร้างมูลค่าต่อยอดให้กับสังคมไทยสืบไป จากรากเหง้าภูมิปัญญาดั้งเดิมอันนับเป็นของหายากและทรงคุณค่าในระดับโลก ตลอดจนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นในทุกวัน



สำหรับ “ขุมชนคลองพลับพลา” ที่ชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบที่เราต้องการจะพัฒนาให้เป็นที่รู้จัก  เพื่อสร้างให้เกิดเป็นแหฃ่งท่องเที่ยวนั้น ตั้งอยู่ในเขตวังทองหลาง ในซอยรามคำแหง 21 แต่เดิมเป็นพื้นที่ท้องนา ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ปลูกข้าว ปลูกผักสวนครัว มีวีถีชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งพาอาศัยกันเฉกเช่นชุมชนชนบททั่วไป อุอมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา เป็นชุมชนที่น่าหลงใหล ชวนไปเยี่ยมเยียน ทางมูลนิธิรวมพัฒน์ จึงเห็นว่า ชุมชนคลองพลับพลานี้ น่าจะเป็นชุมชนท่องเที่ยว เพราะเป็นชุมชนท่ที่มีวิถีชีวิตที่น่าสนใจน่าเรียนรู้ ทั้งในเรื่องวิถีไก่ชน การการจักสานจากผักตบชวา การจัดสวนสมุนไพรประจำชุมชน การหาปลาเพื่อเป็นอาหารด้วยวิธียกยอ ซึ่งไม่คิดว่าจะพบได้กลางกรุงเทพฯ อีกทั้งยังสามารถทดลองทำพลับพลา DIY การทำบ้านไม้สัตว์เลี้ยงด้วยตนเอง ตลอดจนเมนูอาหารเลิศรสจาก Chef Table ให้ลิ้มลองอีกด้วย ซึ่งจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น


            สุดท้ายนี้ อยากฝากให้พี่น้องชาวชุมชนอีก 2,000 แห่ง ได้ตระหนักถึงความผิดหวังและคำสัญญาที่เลื่อนลอย อันเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วควรเลิกฝากความหวังไว้กับคนอื่นหรือแม้กระทั่งทีมของผมเองได้แล้ว ในเมื่อพลังที่แท้จริงอยู่ในมือ 2 ล้านเสียงของพวกท่าน ซึ่งมากกว่าคะแนนเสียงของผู้ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เสียด้วยซ้ำ แม้หากพวกท่านยังไม่พร้อมจะส่งผู้แทนหรือหาผู้นำเพื่อลงแข่งขันเป็นผู้ว่าฯ เอง ท่านก็ยังสามารถเรียกผู้สมัครที่ตอนนี้อยากเป็นผู้ว่าฯ มาต่อรองเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้เค้ารับปากแล้วให้คำมั่นสัญญาต่อหน้าสื่อมวลชนตามความต้องการของท่านก่อนที่เค้าจะเป็นใหญ่เป็นโต แล้วลืมท่านอีกในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and Art Festival 2024”

งาน “มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย Chiang Rai Flower and  Art Festival 2024”  16 ธ.ค. 2567 ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568  ณ สวนไม้งามริมน้ำกก         ...