‘สดช.’ เผยผลสำรวจการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และระดับความรู้ด้านดิจิทัล เป็นครั้งแรก
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หรือ สดช. จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ยกระดับสถานการณ์แข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย
: การพัฒนาที่ผ่านมา” โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีเปิด
และกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “The State of Digital Thailand : สถานะดิจิทัลประเทศไทย”
ว่า จากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน
ของสถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD ของไทย พบว่าไทยมีสถานะที่ดีขึ้น
จากอันดับที่ 44 ในปี 2557 เป็นอันดับที่ 39 ในปี 2561
และการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระดับโลก 4.0 โดย World Economic
Forum ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาใน
นอกจากนี้
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ยังกล่าวว่า ปัจจุบันมีการขยายตัวของการใช้งานอินเทอร์เน็ต
อุปกรณ์มือถือ และสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลให้มากขึ้น
รวมถึงสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญในระดับสากล
“ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียน
ที่มีการสำรวจและประเมินระดับการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศของประชาชน โดยมี สดช.
เป็นผู้ดำเนินงาน มีคะแนนเฉลี่ย 68.1 จัดอยู่ในระดับ “ดี”
ประเมินได้ว่าประชาชนมีความรู้ ทักษะ
และทัศนคติที่สามารถประยุกต์ใช้ในการเปิดรับสื่อสารสนเทศในชีวิตประจำวันได้
และมีคะแนนเฉลี่ย 63.7 จัดอยู่ในระดับ “พื้นฐาน” สำหรับความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้
แต่ยังขาดพื้นฐานด้านจริยธรรม กฎ ระเบียบ และความปลอดภัย
ซึ่งต้องพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อก้าวสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลในอนาคต
ด้าน
ดร.ปิยนุช วุฒิสอน เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เปิดเผยว่า สดช. สำรวจและวัดมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล
โดยมีการศึกษาและกำหนดแนวทางการวัดที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
และโมเดลธุรกิจแบบใหม่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
เพื่อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการระบุระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคดิจิทัลของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางทิศทางและยุทธศาสตร์
เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ
“ในระยะต่อไป สดช.
วางแผนว่าจะวางกลไกการติดตาม จัดเก็บ
และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการพัฒนาดิจิทัลของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ
รวมถึงการเปิดเผยชุดข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นข้อมูลเปิด (Open data) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ
ภาคธุรกิจเอกชน และประชาชน ได้นำข้อมูลไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น